Monday, February 10, 2014

สะโพกหลุด

 2
     ข้อสะโพก หรือ Hip joint เป็นข้อที่มีความแข็งแรงมั่นคงมากๆ เนื่องมาจากโครงสร้างทางกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน ดังนั้น การเกิดข้อสะโพกหลุดเคลื่อน (hip dislocation) จะต้องเกิดจากอุบัติเหตุที่รุนแรงมาก เช่น อุบัติเหตุรถยนต์ โดยทิศทางการเคลื่อนหลุดขึ้นกับตำแหน่งและท่าทางของสะโพกและขาขณะเกิดการกระแทก โดยหากข้อสะโพกอยู่ในท่างอ ขาหุบหมุนเข้าด้านในขณะเกิดการกระแทก จะเกิดการเคลื่อนหลุดไปทางด้านหลัง (posterior dislocation) ในทางกลับกันหากข้อสะโพกอยู่ในท่าเหยียด ขากางออก จะเกิดการเคลื่อนหลุดไปทางด้านหน้า (anterior dislocation)
     โดยส่วนใหญ่หากเกิดอุบัติเหตุและข้อสะโพกหลุด จะพบว่าเกิดการหลุดเคลื่อนไปทางด้านหลังมากกว่าถึงร้อยละ 90 ซึ่งรูปแบบการเกิดที่พบมากก็คือ ผู้บาดเจ็บนั่งในรถยนต์ด้านหน้า ไม่รัดเข็มขัดนิรภัย เมื่อเกิดการกระแทกหรือชนรุนแรง เข่าจะไปกระแทกกับแผงคอนโซลหน้าบริเวณหน้าปัดในท่าที่สะโพกงออยู่ ทำให้ข้อสะโพกหลุดเคลื่อนไปทางด้านหลัง
1
     ขอบคุณภาพจาก: http://www.healthcentral.com/common/images/1/19098_6106_5.jpg
vStudy Team. (เรียบเรียงโดย: สุวิชา ธงพานิช)
Website: vStudyapp.com
Facebook: http://www.facebook.com/vstudyapp
Twitter: @vStudyapp

Thursday, January 30, 2014

เอ็นร้อยหวาย

 2
     เอ็นร้อยหวาย หรือ Tendocalcaneus หรือ Achilles tendon เป็นเอ็นที่มีขนาดใหญ่และแข็งแรงที่สุดในร่างกายมนุษย์ ซึ่งเป็นส่วนของกล้ามเนื้อแกสทรอคนีเมียส (gastrocnemius muscle) และกล้ามเนื้อโซเลียส (soleus muscle)  ที่ยื่นต่อลงไปเกาะที่กระดูกส้นเท้า (calcaneus bone) ทำหน้าที่ในการเหยียดเท้า
     การบาดเจ็บต่อเอ็นร้อยหวายมักเกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อแบบ eccentric contraction หรือการหดตัวขณะที่ความยาวของกล้ามเนื้อยืดออก เช่น ขณะเริ่มกระโดด หัวเขาจะเหยียดตรงและข้อเท้ากระดกขึ้น ดังนั้นหากมีการฉีกขาดของเอ็นร้อยหวายเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ก็จะทำให้ไม่สามารถกระโดดหรือยืนเขย่งบนปลายเท้าข้างนั้นได้ ซึ่งสามารถรักษาได้โดยการเย็บซ่อมและดามข้อเท้าไว้จนเส้นเอ็นสมานกัน
1
     ขอบคุณภาพจาก: http://andreacollo.files.wordpress.com/2012/12/achilles_tendon.jpg
vStudy Team. (เรียบเรียงโดย: สุวิชา ธงพานิช)
Website: vStudyapp.com
Facebook: http://www.facebook.com/vstudyapp
Twitter: @vStudyapp

อาณาจักรสิ่งมีชีวิต

 2
     แนวคิดในการจำแนกสิ่งมีชีวิตนั้น ได้มีนักวิทยาศาสตร์หลายท่านคิดวิธีการ รูปแบบ ขั้นตอนต่างๆ ออกมามากมายตามเกณฑ์การจำแนกที่แตกต่างกันไป แต่ที่เป็นที่ยอมรับมากที่สุดในปัจจุบันก็คือแนวคิดของ Robert Whittaker ซึ่งได้แบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็น 5 อาณาจักร ดังนี้
     1. อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera) เป็นอาณาจักรของสิ่งมีชีวิตจำพวกโพรคาริโอต (prokaryotic cell) คือพวกที่เซลล์ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส ทำให้สารพันธุกรรมกระจายอยู่ทั่วเซลล์ เช่น พวกเบคทีเรียต่างๆ และสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน เป็นต้น
     2. อาณาจักรโพรติสตา (Kingdom Protista) เป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตจำพวกยูคาริโอต (eukaryotic cell) หรือพวกที่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียสกลุ่มแรกๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว หรือหลายเซลล์ที่ยังไม่มีการพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อ รวมทั้งพวกที่มีลักษณะของทั้งพืชและสัตว์รวมกัน เช่น อะมีบา ยูกลีนา พารามีเซียม สาหรายหลายชนิด และราเมือก เป็นต้น
     3. อาณาจักรฟังไจ (Kingdom Fungi) เป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถสร้างอาหารได้เอง แต่จะได้รับอาหารจากการดูดซึมจากภายนอก โดยการปล่อยเอมไซม์ออกไปย่อยอาหารภายนอกเซลล์ เช่น ราน้ำ ราขนมปัง เห็ด และยีสต์ เป็นต้น
     4. อาณาจักรพืช (Kingdom Plantae) ได้แก่ สิ่งมีชีวิตที่เป็นยูคาริโอตหลายเซลล์ และมีการพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อร่วมกันทำงานในระบบอวัยวะ และสามารถสร้างอาหารได้โดนการสังเคราะห์ด้วยแสง ได้แก่ มอส เฟิร์น สน หญ้าถอดปล้อง ปรง และพืชดอก เป็นต้น
     5. อาณาจักรสัตว์ (Kingdom Animalia) ได้แก่ สิ่งมีชีวิตยูคาริโอตหลายเซลล์ มีการพัฒนาเป็นเนื้อเยื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบอวัยวะ แต่ไม่สามารถสร้างอาหารโดยการสังเคราะห์ด้วยแสงเองได้ ต้องอาศัยอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น ได้แก่ ฟองน้ำ ดอกไม้ทะเล พยาธิต่างๆ ปลา ไส้เดือน แมลง สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เป็นต้น
1
vStudy Team. (เรียบเรียงโดย: สุวิชา ธงพานิช)
Website: vStudyapp.com
Facebook: http://www.facebook.com/vstudyapp
Twitter: @vStudyapp

Tuesday, January 21, 2014

สาร(เคมี)กำจัดศัตรูพืช ตอนที่ 2

2
     ครั้งที่แล้วผมได้นำเสนอให้ทุกท่านรู้จักกับ สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือที่เรียกกันติดปากว่า "ยาฆ่าแมลง" กันไปแล้วนะครับ วันนี้เลยจะขอมานำเสนอรูปแบบของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชกันต่อเลยนะครับ
     ปัจจุบัน ในประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตสารตั้งต้น (Active Ingredient) จึงต้องนำเข้าสารเคมีทั้งแบบสำเร็จรูปและแบบเข้มข้นทั้งประเภท premix และ technical grade เพื่อมาปรุงแต่งและแบ่งบรรจุ สารเคมีที่ปรุงแต่งเสร็จแล้วจะมีสารออกฤทธิ์ที่น้อยลง เนื่องจากผ่านการเติมสารผสม (Inert Ingredients) เช่น สารจับใบ สารละลาย สารลดแรงตึงผิว เป็นต้น เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในการใช้ อย่างไรก็ตาม สารผสมเหล่านี้อาจมีความอันตรายเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น สารลดแรงตึงผิวที่ใช้ผสมกับราวด์อัพ (ไกลโฟเสท) เป็นต้น ที่น่าสนใจคือมีการผสมสารที่ทำให้อาเจียนในสารเคมีกำจัดศัตรูพืชบางชนิด เพื่อลดการเกิดพิษในกรณีที่ถูกใช้ในทางที่ผิด เช่น การฆ่าตัวตาย หรือเมื่อรับสารเข้าไปโดยอุบัติเหตุ
     สารเคมีกำจัดศัตรูพืชยังมีรูปแบบที่หลากหลาย ชนิดผงมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ
     1) ผงฝุ่นละเอียด (Dustable powder: DP) ที่เอาไว้โรยและไม่ต้องผสมน้ำ แต่สารเคมีอาจฟุ้งกระจาย
     2) ผงผสมน้ำ (Wettable powder: WP) ที่ต้องใช้ทันทีเพื่อไม่ให้ตกตะกอน
     3) ผงแบบละลายในน้ำได้ (Soluble power: SP) ซึ่งจะไม่ตกตะกอน แต่เมื่อเก็บไว้นานๆ มักจับตัวเป็นก้อนแข็ง
     นอกจากนี้ ยังมีในส่วนที่เป็นรูปแบบเม็ด (Tablet: TB หรือ WT) แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยม เพราะมีลักษณะคล้ายคลึงกับยารักษาโรค รูปแบบเม็ดทราย (Granule: GR) เพื่อใช้หว่านหรือหยอดในดินเท่านั้น ห้ามละลายน้ำ ออกฤทธิ์ซึมเข้าไปผ่านระบบราก
     สารเคมีในรูปแบบของเหลว มีอยู่ประมาณ 5 รูปแบบ คือ
     1) ส่วนผสมสารเข้มข้น (Emulsifiable Concentrate: EC) ซึ่งเป็นรูปแบบที่นิยมมากที่สุด ต้องผสมน้ำก่อนใช้ มีสีขาวขุ่นและกลิ่นเหม็น สามารถดูดซึมได้ดีจึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง
     2) แคปซูล (Capsule Suspension: CS) ที่มีสารเคมีรูปแบบของเหลวอยู่ข้างใน และจะซึมออกช้าๆ มีฤทธิ์คงทนยาวนาน 
     3) สารเข้มข้นแขวนลอย (Suspension Concentrate: SC) โดยสารออกฤทธิ์จะเป็นของแข็งแขวนลอยในสารละลายไม่ออกฤทธิ์
     4) สารเข้มข้นละลายได้ (Soluble Concentrate: SL) ซึ่งสารออกฤทธิ์จะละลายในน้ำหรือแอลกอฮอล์ได้ดี
     5) ของเหลวปริมาตรต่ำ (Ultra Low Volume Liquid) ที่ใช้สำหรับเครื่องพ่น อาจนับได้ว่าเป็นแบบ EC ชนิดพิเศษ
     ขอขอบคุณข้อมูลจาก: เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thailand Pesticide Alert Network: Thai-PAN)
vStudy Team. (เรียบเรียงโดย: สุวิชา ธงพานิช)
Website: vStudyapp.com
Facebook: http://www.facebook.com/vstudyapp
Twitter: @vStudyapp

Monday, January 20, 2014

สาร(เคมี)กำจัดศัตรูพืช ตอนที่ 1

6
     ในปัจจุบันเรามักจะได้ยินคำว่า ยาฆ่าแมลง หรือยาฆ่าหญ้า กันทางสื่อต่างๆ ไม่เว้นแต่ละวันนะครับ ซึ่งแต่เดิมสิ่งที่นำมาใช้ในการกำจัดศัตรูพืชก็คือสิ่งที่หาได้จากธรรมชาติ และวิธีการทางธรรมชาติที่เรียกว่า "การควบคุมโดยชีววิธี" แต่ในปัจจุบันได้เริ่มมีการพัฒนาสูตรสารเคมีต่างๆ ขึ้นมามากมายเพื่อใช้ในการกำจัดศัตรูพืช โดยที่ "สารเคมีกำจัดศัตรูพืช (pesticide)" ก็คือ สารเคมีสังเคราะห์ที่มีวัตถุประสงค์ในการกำจัด ขับไล่ หรือหยุดยั้งการเจริญเติบโตของศัตรูพืช ไม่ว่าจะเป็นแมลง วัชพืช โรคพืช หรือสิ่งที่จะทำลายให้พืชผลเกิดความเสียหาย โดยทั่วไปเรียกว่ายาฆ่าแมลงหรือยาฆ่าหญ้าตามวัตถุประสงค์ของการใช้ แต่การใช้คำว่า “ยา” อาจเป็นการสร้างความสับสนต่อผู้ใช้ เพราะสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเป็นสารเคมีอันตรายทั้งต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ต้องมีการใช้อย่างระมัดระวัง เพราะในปริมาณน้อยนิดสารเคมีเหล่านี้ก็สามารถทำให้เกิดอาการพิษต่างๆ หรือแม้แต่การเสียชีวิตได้
     สารเคมีกำจัดศัตรูพืชถูกแบ่งออกเป็นกลุ่ม ตามลักษณะทางเคมี โดยมีกลุ่มหลักๆ ต่อไปนี้
1
2
3
4
5
     ขอขอบคุณข้อมูลจาก: เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thailand Pesticide Alert Network: Thai-PAN)
vStudy Team. (เรียบเรียงโดย: สุวิชา ธงพานิช)
Website: vStudyapp.com
Facebook: http://www.facebook.com/vstudyapp
Twitter: @vStudyapp

สถานะของสาร

 2
     สารต่างๆ ในธรรมชาติ โดยทั่วไปแล้วแบ่งออกได้เป็น 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ซึ่งสาร 1 ชนิดอาจมีได้ทั้ง 3 สถานะก็ได้ เช่น น้ำ น้ำแข็ง และไอน้ำ โดยทั้ง 3 สถานะของสารจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้
     ของแข็ง (solid)
     มีปริมาตรและรูปร่างที่แน่นอน ทำให้ไม่สามารถกดอัดให้มีปริมาตรลดลงได้ และจะคงทนสภาพเช่นเดิมอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากอนุภาคของสารจะอยู่ชิดแน่นกันมาก และจะมีแรงดึงดูดระหว่างกันมากด้วย เช่น ของใช่ต่างๆ โลหะ ปากกา ยางลบ แท่งไม้ แท่งเหล็ก ฯลฯ
     ของเหลว (liquid)    
     มีปริมาตรที่แน่นอนแต่มีรูปร่างไม่แน่นนอน โดยจะไม่สามารถกดอัดให้ลดปริมาตรได้ แต่จะสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปตามภาชนะที่บรรจุได้ เนื่องจากมีอนุภาคของสารอยู่กันอย่างหลวมๆ และนอกจากนี้ยังมีสมบัติการไหล โดยจะไหลจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำ และสามารถระเหย (การเปลี่ยนสถานะจากของเหลวไปเป็นไอ) ได้
     ก๊าซ (gas)
     ปริมาตรและรูปร่างไม่แน่นอน แต่สามารถขยายตัวตามภาชนะที่บรรจุได้ โดยจะสามารถบีบอัดให้มีปริมาตรลดลง หรือ เพิ่มให้มีปริมาตรมากขึ้นก็ได้ เพราะอนุภาคของก๊าซจะอยู่ห่างกันมากๆ ทำให้สามารถเคลื่อนเข้าไปชิดกันได้มาก และเคลื่อนออกจากกันได้มากด้วย
1
     ขอบคุณภาพจาก: http://www.trivedichemistry.com/WebMovie/1Chap1_files/image002.jpg
vStudy Team. (เรียบเรียงโดย: สุวิชา ธงพานิช)
Website: vStudyapp.com
Facebook: http://www.facebook.com/vstudyapp
Twitter: @vStudyapp

Sunday, January 19, 2014

ชนิดของ (เซลล์) ไข่ ตอนที่ 1

2
     สัตว์มีกระดูกสันหลังส่วนใหญ่รวมถึงมนุษย์เรา ต่างก็มีการเจริญที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกของการเจริญ ซึ่งเกิดขึ้นภายหลังการปฏิสนธิ ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดความแตกต่างเหล่านั้นก็คือ ชนิดของเซลล์ไข่ ที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิดของสัตว์ โดยเซลล์ไข่สามารถแบ่งได้หลายประเภทคือ
     1. แบ่งตามปริมาณของไข่แดง (ZPML)
     1.1 ไข่ที่มีไข่แดงน้อย (PMPHPMFDJUIBM FHH) เช่น เพรียงหัวหอม เม่นทะเล และแอมฟิออกซัส เป็นต้น
     1.2 ไข่ที่มีไข่แดงปานกลาง (NFTPMFDJUIBM FHH) เซลล์ไข่จะมีขนาดใหญ่กว่าชนิดแรก เช่น กบ คางคก เป็นต้น
     1.3 ไข่ที่มีไข่แดงมาก (QPMZMFDJUIBM FHH) ไข่แดงจะอัดแน่น แยกจากส่วนของแผ่นเซลล์ที่จะเจริญต่อไปเป็นเอ็มบริย์โอ เช่น ปลา สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์ปีก เป็นต้น
     1.4 ไข่ที่ไม่มีไข่แดง (BMFDJUIBM FHH) จะมีไข่แดงน้อยมากๆ หรือไม่มีเลย เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม
     2. แบ่งตามการกระจายของไข่แดง
     2.1 ไข่ที่มีไข่แดงกระจายสม่ำเสมอ (JTPMFDJUIBM FHH) ส่วนใหญ่จะมีขนาดเล็กและใส เช่น เม่นทะเล แอมฟิออกซัส
     2.2 ไข่ที่มีไข่แดงค่อนไปทางด้านหนึ่ง (UFMPMFDJUIBM FHH) ไข่มักมีขนาดใหญ่ มีไข่แดงกระจายค่อนไปทางด้านใดด้านหนึ่งมากกว่าอีกด้านหนึ่ง เช่น สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก กบ คางคก เป็นต้น
     2.3 ไข่ที่มีไข่แดงอยู่ตรงกลาง (DFOUSPMFDJUIBM FHH) จะมีไข่แดงมาก แต่สะสมอยู่ตรงกลางเซลล์ล้อมรอบแผ่นเซลล์ที่จะเจริญไปเป็นตัวอ่อนไว้
     3. แบ่งตามคลีเวจ (การแบ่งตัวหลังการปฏิสนธิ) แบบเฉพาะตัว
     3.1 คลีเวจตลอดทั้งเซลล์ เช่น เม่นทะเล แอมฟิออกซัส กบ คางคก และคน เป็นต้น
     3.2 คลีเวจเป็นบางส่วน เช่น สัตว์เลื้อยคลาน ปลา สัตว์ปีก และแมลง เป็นต้น
vStudy Team. (เรียบเรียงโดย: สุวิชา ธงพานิช)
Website: vStudyapp.com
Facebook: http://www.facebook.com/vstudyapp
Twitter: @vStudyapp