ช่วงคืนวันที่ 12 สิงหาคม จนถึงเช้ามืดวันที่ 13 สิงหาคม 2556 จะเกิดปรากฎการณ์ฝนดาวตก “เพอร์ซิอัส (Perseus)” หรือที่คนไทยรู้จักกันในนาม “ฝนดาวตกวันแม่” ซึ่งเป็นฝนดาวตกที่มีชื่อเสียงมากในแถบยุโรป หากในคืนวันแม่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ไม่มีเมฆฝนเป็นอุปสรรค ก็จะทำให้คนไทยได้ชมฝนดาวตกฉลองวันแม่กันอย่างชัดเจน
ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสมีต้นกำเนิดมาจากดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิล (109P/Swift-Tuttle) ซึ่งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2535 มีคาบ 130 ปี และในปีนี้เป็นปีที่ดีสำหรับการสังเกตฝนดาวตกเพอร์ซิอัส เนื่องจากตรงกับวันขึ้น 6 และ 7 ค่ำ เดือน ซึ่งอยู่ในช่วงครึ่งแรกของข้างขึ้น ดวงจันทร์จะตกลับขอบฟ้าในขณะที่จุดกระจายขึ้นเหนือขอบฟ้า โดยจุดกระจายฝนดาวตกเพอร์ซิอัสจะอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่าง “กลุ่มดาวเพอร์ซิอัส (Perseus)” กับ “กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย (Cassiopeia)” ใกล้กระจุกดาวคู่ สามารถสังเกตฝนดาวตกได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 4 ทุ่มครึ่ง แต่ยังคงมีน้อย จะสังเกตได้ดีหลังเที่ยงคืนและดีที่สุดในช่วงที่จุดกระจายอยู่สูง ซึ่งตรงกับช่วง 1-2 ชั่วโมงก่อนท้องฟ้าสว่างในเวลาเช้ามืด คาดว่ามีอัตราการตกสูงสุดถึง 60 ดวงต่อชั่วโมง
ขอบคุณข้อมูลจาก: สมาคมดาราศาสตร์ไทย
ฝนดาวตกเพอร์ซิอัสมีต้นกำเนิดมาจากดาวหางสวิฟต์-ทัตเทิล (109P/Swift-Tuttle) ซึ่งเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2535 มีคาบ 130 ปี และในปีนี้เป็นปีที่ดีสำหรับการสังเกตฝนดาวตกเพอร์ซิอัส เนื่องจากตรงกับวันขึ้น 6 และ 7 ค่ำ เดือน ซึ่งอยู่ในช่วงครึ่งแรกของข้างขึ้น ดวงจันทร์จะตกลับขอบฟ้าในขณะที่จุดกระจายขึ้นเหนือขอบฟ้า โดยจุดกระจายฝนดาวตกเพอร์ซิอัสจะอยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่าง “กลุ่มดาวเพอร์ซิอัส (Perseus)” กับ “กลุ่มดาวแคสซิโอเปีย (Cassiopeia)” ใกล้กระจุกดาวคู่ สามารถสังเกตฝนดาวตกได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 4 ทุ่มครึ่ง แต่ยังคงมีน้อย จะสังเกตได้ดีหลังเที่ยงคืนและดีที่สุดในช่วงที่จุดกระจายอยู่สูง ซึ่งตรงกับช่วง 1-2 ชั่วโมงก่อนท้องฟ้าสว่างในเวลาเช้ามืด คาดว่ามีอัตราการตกสูงสุดถึง 60 ดวงต่อชั่วโมง
ขอบคุณข้อมูลจาก: สมาคมดาราศาสตร์ไทย
vStudy Team.
Website: vStudyapp.com
Facebook: www.facebook.com/vstudyapp
Twitter: @vStudyapp
No comments:
Post a Comment