Monday, September 30, 2013

"สัตว์สร้างได้" อย่างไร?


     ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมานี้เรามักจะได้ยินคำพูดที่ว่า “สัตว์ป่าสร้างได้” จากใครหลายคน ผมจึงขอนำประเด็นนี้มาเขียนเป็นบทความสั้นๆ เกี่ยวกับการสร้างสัตว์นะครับ สิ่งที่เรียกว่า “สัตว์” ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เล็ก สัตว์ใหญ่ สัตว์เลือดอุ่น สัตว์เลือดเย็น สัตว์ป่า สัตว์เลี้ยง ฯลฯ รวมถึงสัตว์ประเสริฐอย่างมนุษย์เรา ล้วนแต่เป็นสิ่งมีชีวิตทั้งสิ้น ซึ่งสิ่งที่นับว่าสำคัญที่สุดของสิ่งมีชีวิตก็คือการสืบพันธุ์เพื่อสร้างสิ่งมีชีวิตตัวใหม่ เพื่อดำรงไว้ซึ่งเผ่าพันธุ์ของตน โดยการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตนั้นแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ 2 กลุ่ม คือ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (asexual reproduction) และการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ (sexual reproduction)

     1) การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เป็นการสืบพันธุ์ที่ไม่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์ โดยสิ่งมีชีวิตใหม่ที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกับสิ่งมีชีวิตตัวแม่ทุกประการ ทำให้ไม่มีความแปรผันทางพันธุกรรม จึงไม่เกิดการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ เช่น การแตกหน่อ (budding) ของยีสต์ ฟองน้ำ และพืชดอกบางชนิด เป็นต้น รวมถึงการหลุดเป็นท่อนของสาหร่ายและพยาธิตัวตืด หรือแม้แต่การงอกใหม่ของพลานาเรีย เป็นต้น

     2) การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ เป็นการสืบพันธุ์ที่ต้องอาศัยเซลล์สืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเพศผู้และเพศเมีย ทำให้สิ่งมีชีวิตใหม่ที่ได้มีลักษณะทางพันธุกรรมที่เปลี่ยนไป และมีความสามารถในการปรับตัวให้อยู่รอดในสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้ เช่น การสืบพันธุ์ของสัตว์ชั้นสูงทั่วไป รวมถึงมนุษย์ด้วย

     ขอบคุณภาพจาก: http://csls-text.c.u-tokyo.ac.jp/active/12_01.html

vStudy Team. (เรียบเรียงโดย: สุวิชา ธงพานิช)
Website :: vStudyapp.com
Facebook :: http://www.facebook.com/vstudyapp
Twitter :: @vStudyapp

Wednesday, September 25, 2013

เรื่องของรุ้ง (กินน้ำ)


     “ฟ้าหลังฝนงดงามเสมอ” หลายคนคงเคยได้ยินประโยคนี้นะครับ รวมถึงตัวผมเองด้วย ซึ่งก็คิดว่าที่เป็นแบบนั้นก็เพราะฟ้าหลังฝนมักจะเกิดปรากฎการณ์รุ้งกินน้ำทอดโค้งอยู่บนฟ้า หลายคนก็มองว่าเป็นสิ่งที่มหัศจรรย์ แต่ความเป็นจริงของรุ้งกินน้ำนั้นก็ได้ถูกหลักการทางวิทยาศาสตร์เปิดโป่งไว้นานมากแล้วครับ โดยที่รุ้งกินน้ำซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลังจากฝนตก เกิดขึ้นจากแสงแดดส่องผ่านละอองน้ำในอากาศ ทำให้เกิดการหักเหของแสงขึ้นจึงเห็นเป็นแถบสีต่างๆ บนท้องฟ้า ซึ่งคล้ายกับการที่เราส่องแสงสีขาวผ่านปริซึมทำให้แสงเกิดการหักเห โดยหลักการที่ว่า “แสงที่มีความยาวคลื่นน้อยจะหักเหได้มากกว่าแสงที่มีความยาวคลื่นมาก”

     ทุกครั้งที่เราเห็นรุ้งกินน้ำ เราก็มักจะชื่นชมกับความงดงามจากสีทั้ง 7 ของมัน (ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง ส้ม แดง) แต่จะมีสักกี่คนที่สังเกตเห็นถึงความแตกต่างของรุ้งกินน้ำที่ปรากฏขึ้นบนท้องฟ้า ซึ่งมี 2 แบบ นั่นก็คือ รุ้งกินน้ำปฐมภูมิ และรุ้งกินน้ำทุติยภูมิ โดยมีความแตกต่างกันดังนี้ครับ

     1) รุ้งกินน้ำปฐมภูมิ เกิดจากแสงตกกระทบเข้ามาทางด้านบนของหยดน้ำ แล้วเกิดการกระจายในหยดน้ำ จากนั้นจึงเกิดการสะท้อนของแสงที่ผิวด้านในของหยดน้ำเพียงครั้งเดียว ก่อนจะหักเหของแสงออกจากหยดน้ำสู่อากาศ ทำให้เห็นแสงสีม่วงอยู่ชั้นในสุดและสีแดงอยู่ชั้นนอกสุด

     2) รุ้งกินน้ำทุติยภูมิ เกิดจากแสงตกกระทบเข้ามาทางด้านล่างของหยดน้ำ แล้วเกิดการกระจายในหยดน้ำ จากนั้นจึงเกิดการสะท้อนของแสงที่ผิวด้านในของหยดน้ำอีก 2 ครั้ง ก่อนจะหักเหของแสงออกจากหยดน้ำสู่อากาศ ทำให้เห็นแสงสีแดงอยู่ชั้นในสุดและสีม่วงอยู่ชั้นนอกสุด


     ขอบคุณภาพจาก: http://hyperphysics.phy-astr.gsu.edu/hbase/atmos/imgatm/lpath2.gif

vStudy Team. (เรียบเรียงโดย: สุวิชา ธงพานิช)
Website :: vStudyapp.com
Facebook :: http://www.facebook.com/vstudyapp
Twitter :: @vStudyapp

Monday, September 23, 2013

ลิ้นรับรส


     ทุกครั้งที่เรากินอาหาร เรามักจะมีคำพูดอยู่สองคำเสมอนั่นก็คือ “อร่อย” กับ “ไม่อร่อย” ซึ่งในบางครั้งคนกินอาหารแบบเดียวกัน ก็ไม่ได้มีความรู้สึกอร่อยหรือไม่อร่อยเหมือนกันทุกคน แบบนี้แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารอร่อยนั้น มันอร่อยเพราะรสมือแม่ครัว/พ่อครัว หรือเพราะความสามารถในการรับรสของเราแต่ละคน วันนี้ผมเลยอยากมานำเสนอถึงสิ่งที่ทำให้เราสามารถรับรู้รสต่างๆ ของอาหารได้ โดยมีอวัยวะที่สำคัญในการรับรสก็คือ “ลิ้น (tongue)”

     ลิ้น เป็นอวัยวะในช่องปาก ทำหน้าที่ช่วยในการคลุกเคล้าอาหาร และมีหน้าที่สำคัญในการรับรสอีกด้วย โดยมีน้ำลายเป็นตัวช่วยละลายสารสื่อรสต่างๆ ซึ่งเป็นสารเคมี เพื่อให้สารเหล่านั้นตกไปในปุ่มรับรส (taste buds) ที่กระจายอยู่บนลิ้น เมื่อมีสารเคมีมากระตุ้น ตุ่มรับรสจะเกิดการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ของเซลล์รับรส ทำให้เกิดกระแสประสาทส่งไปตามเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งรับรสจากบริเวณปลายลิ้นและด้านข้างของลิ้น (2/3 ส่วนของลิ้นด้านหน้า) และประสาทสมองคู่ที่ 9 รับรสจากบริเวณโคนลิ้น (1/3 ส่วนด้านโคนลิ้น) เพื่อส่งกระแสประสาทต่อไปยังก้านสมองทาลามัสและซีรีบรัมบริเวณพูด้านข้างขมับ (parietal cortex) ซึ่งเป็นบริเวณศูนย์รับรส เพื่อแปลผลว่าเป็นรสอะไร โดยในแต่ละตุ่มรับรสจะมีเซลล์รับรสประมาณ 4–20 เซลล์ ทำหน้าที่รับรสที่แตกต่างกันถึง 5 รส คือ เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม และ อูมามิ ดังภาพ

 
vStudy Team. (เรียบเรียงโดย: สุวิชา ธงพานิช)
Website :: vStudyapp.com
Twitter :: @vStudyapp


Thursday, September 19, 2013

ความจริงของคอลลาเจน


     คอลลาเจน (Collagen) เป็นโปรตีนสายยาวที่สร้างจากเซลล์ในเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) ในรูปเส้นใย collagen fiber และยังเป็นโปรตีนที่พบมากถึง 35% ของโปรตีนทั้งหมดในร่างกาย โดยเฉพาะที่ผิวหนัง ทำให้ผิวหนังมีแรงสปริงตัวและยืดหยุ่นได้ดี ในอุตสาหกรรมอาหาร คอลาเจนถูกนำไปใช้ในการผลิตเจลาติน โดยกระบวนการ hydrolysis เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ยา อาหาร ขนมขบเคี้ยว ไอศกรีม โยเกิร์ต เครื่องสำอาง เป็นต้น

     ในปัจจุบัน เราจะได้ยินข่าวอยู่เสมอเกี่ยวกับคอลาเจนจากแหล่งต่างๆ ที่นำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยอ้างสรรพคุณต่างๆ นานา ที่เกี่ยวกับผิวพรรณความงาม บ้างก็ว่าคอลลาเจนที่กินเข้าไปจะเข้าไปอยู่ที่ผิวหนังทำให้ผิวหนังเต่งตึงอยู่และดูเยาว์วัย บ้างก็ว่าคอลลาเจนที่กินเข้าไปจะไปช่วยบำรุงผิวทำให้ดูขาวใสอ่อนวัย จนทำให้ความเชื่อเหล่านี้กลายเป็นสิ่งที่คนจำนวนมากเชื่อว่าเป็นข้อเท็จจริงไปโดยปริยาย โดยลืมความจริงบางประการไป นั่นก็คือ ความจริงที่ว่าคอลลาเจนที่เป็นส่วนหนึ่งของผิวหนังมันก็คือโปรตีนชนิดหนึ่ง ไม่ต่างอะไรกับโปรตีนจากเนื้อสัตว์ ไข่ นม ถั่ว ซึ่งเป็นอาหารหมู่หนึ่งที่เราก็บริโภคกันอยู่แล้วทุกวี่วัน ดังนั้น เวลาที่เรากินคอลลาเจนเข้าไป ร่างกายเราก็จะประพฤติกับมันเหมือนกับที่ทำกับโปรตีนทั่วไป นั่นก็คือ การย่อยให้ได้โมเลกุลเล็กที่สุดเพื่อดูดซึมไปใช้งานในกระบวนการต่างๆ ของร่างกาย โดยจากโปรตีนสายยาวก็จะกลายเป็นสายสั้นๆ และกลายเป็นกรดอะมิโน ซึ่งเป็นหน่วยเล็กสุดของโปรตีน

     จากความจริงตรงนี้ ถ้าเราลองมองตามหลักของเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ก็จะพบว่า คอลลาเจนที่กินเข้าไปคงจะไม่มีทางมุ่งไปสะสมยังผิวหนังได้อย่างแน่นอน ดังนั้นแล้วหากเราอยากกินคอลลาเจน ซึ่งมีราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ ตามคำอ้างสรรพคุณ ก็คงไม่ต่างอะไรกับการที่เรากินไข่ต้มราคาฟองละไม่กี่บาท
 
vStudy Team. (เรียบเรียงโดย: สุวิชา ธงพานิช)
Website :: vStudyapp.com
Twitter :: @vStudyapp

Monday, September 16, 2013

กรุ๊ปเลือดบอกนิสัยได้จริงเหรอ?


     หมู่เลือดของคนเรานั้น ในปัจจุบันนี้ได้มีการน้ำเอามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำนายทายทักลักษณะนิสัยของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น เรื่องการกิน อยู่ หลับ นอน หรือแม่แต่เรื่องเนื้อคู่ ความรัก การเงิน การงาน ฯลฯ ซึ่งทำให้แบ่งคนออกไปเป็น 4 ประเภท ตามระบบหมู่เลือด เอ บี โอ (ABO Blood system) ซึ่งในบางครั้งก็ดูตรงจนเหลือเชื่อ แต่ก็มีไม่น้อยที่ไม่ตรง แต่ก็ถูกมองข้ามไปเพราะคนเราเลือกที่จะเชื่อในสิ่งตัวเองพอใจมากกว่าเชื่อในความเป็นจริง ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวผมเองก็ไม่สามารถที่จะไปตัดสินได้ว่า “หมู่เลือดบอกนิสัยได้จริงหรือไม่” แต่สิ่งที่ผมบอกได้จากความรู้ที่เคยเล่าเรียนมาก็คือ ความแตกต่างของหมู่เลือดแต่ละหมู่ในระบบหมู่เลือด เอบีโอ นั้นก็คือชนิดของเอนติเจนที่ผิวของเม็ดเลือดแดงนั้นเอง ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เราทุกคนต่างก็ได้รับการถ่ายทอดมาจากพ่อและแม่ เหมือนกับเป็นมรดกทางพันธุกรรมนั้นเอง สำหรับเรื่องลักษณะนิสัยของคนนั้นน่าจะขึ้นอยู่กับความคิดอ่าน และการดำรงชีวิตในสังคมของแต่ละบุคคลมากกว่า ไม่น่าจะเกี่ยวข้องเท่าไรกับระบบหมู่เลือดนะครับ โดยจะขออธิบายเพิ่มเล็กน้อยเกี่ยวกับความเป็นวิทยาศาสตร์ของหมู่เลือดแต่ละหมู่ดังนี้ครับ

vStudy Team. (เรียบเรียงโดย: สุวิชา ธงพานิช)
Website :: vStudyapp.com
Twitter :: @vStudyapp

Sunday, September 15, 2013

"หมวดคำทักทาย 1" เมียนมาร์ (พม่า)

 

vStudy Team.
Website :: vStudyapp.com
Twitter :: @vStudyapp

"หมวดคำทักทาย 1" สปป.ลาว


vStudy Team.
Website :: vStudyapp.com
Twitter :: @vStudyapp

คำน่ารักอาเซียน สปป.ลาว V.2


vStudy Team.
Website :: vStudyapp.com
Twitter :: @vStudyapp

คำน่ารักอาเซียน สปป.ลาว V.1

  
vStudy Team.
Website :: vStudyapp.com
Twitter :: @vStudyapp

V-Quiz : 9 จะไปสวรรค์หรือนรก

 
 
     ถามอย่างไรถึงจะได้เข้าประตูสวรรค์?

vStudy Team.
Website :: vStudyapp.com
Twitter :: @vStudyapp

V-Quiz : 8 ภาพนี้มีคนกี่คน?

 

vStudy Team.
Website :: vStudyapp.com
Twitter :: @vStudyapp

Sunday, September 8, 2013

"วิทยาศาสตร์เทียม" กับความเชื่อที่ถูกปลูกฝัง

 
     การแพทย์ลวงโลก โหราศาสตร์อ้างหลักวิทย์ มิติลี้ลับ ยาวิเศษรักษาทุกโลก พลังจิต อุปกรณ์สุดล้ำ ฯลฯ เหล่านี้ส่วนใหญ่ในปัจจุบันมักจะมีการอ้างถึงหลักการ และทฤษฎีต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์ ในการโฆษณาทั้งสิ้น เพื่อดึงดูด เรียกร้อง และชักชวน ให้ผู้คนที่ผ่านไปมาเกิดความสนใจและหลงเชื่อมาแล้วนักต่อนัก บ้างก็ว่าเห็นผลดีจริงๆ บ้างก็บอกว่าคุ้มค่า บ้างก็เชื่ออย่างสนิทใจ แต่จะมีสักกี่คนที่จะรู้ว่า หลายสิ่งหลายอย่างที่มีการอ้างถึงความเป็นวิทยาศาสตร์นั้น มักจะเป็นเพียงความเชื่อ หรือความคิดว่าคงจะใช่ หรืออะไรก็ตามซึ่งอาจจะมีมูลเหตุแห่งความเป็นจริงอยู่ในเรื่องราวเหล่านั้นบ้าง แต่เชื่อได้เลยว่า มีแค่เพียงบางส่วนเท่านั้นที่สามารถอธิบายได้โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์จริงๆ หรือบางเหตุการณ์ก็อาจไม่สามารถพิสูจน์ได้จริงโดยใช้วิทยาศาสตร์แต่อย่างใด จึงเป็นที่มาของคำว่า “วิทยาศาสตร์เทียม” หรือ “pseudoscience” นั่นเอง
 
     กระแสของวิทยาศาสตร์เทียมนั้น นับได้ว่ามีมานานเกือบ 200 ปีแล้ว เช่นเรื่องราวของศาสตร์ด้านหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับการทำนายนิสัยโดยพิจารณากะโหลกศีรษะ หรือ phrenology ในช่วงปี ค.ศ. 1820 ซึ่งต่อมาได้ถูกเรียกว่าเป็นวิทยาศาสตร์เทียมในปี ค.ศ. 1843 เป็นต้นมา เนื่องจากกระบวนการศึกษาทางด้าน phrenology นั้น มีหลายสิ่งที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเท็จโดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ ทำให้ศาสตร์ดังกล่าวกลายเป็นวิทยาศาสตร์เทียมมาจนถึงทุกวันนี้

     สำหรับในประเทศไทยเรา ก็นับว่ามีกระแสวิทยาศาสตร์เทียมอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ตั้งแต่เรียกเล็กๆ น้อยๆ เช่นการโฆษณาชวนเชื่อต่างๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ เช่นกรณีเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด หรือ GT200 ที่เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนาหูเมื่อไม่กี่ปีก่อน ซึ่งต่อมา ผศ.ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ก็ได้มีการอธิบายถึงกฎ 9 ข้อ ในการรู้เท่าทันวิทยาศาสตร์ไว้ ดังนี้
 
     1. การสร้างภาพลวงของกิเลสหรือความกลัว
     2. สร้างหลุมพรางกับดักทีละขั้นตอน โดยเริ่มจากการลอง ทดสอบ
     3. สร้างความน่าเชื่อถือ โดยปั้นตัวละครขึ้นมาเป็นกูรู เพื่อสร้างความเชื่อมั่น
     4. ก่อตั้งกลุ่มผู้ที่ศรัทธา โดยหากลุ่มคนที่มีเป้าหมายร่วมกัน มีความรู้เดียวกัน หรือมีศัตรูร่วมกัน
     5. ให้การหลอกลวงตัวเอง ใช้แล้วดี ต้องแนะนำให้คนอื่นใช้ต่อ เหมือนกับธุรกิจเครือข่ายหรือแชร์ลูกโซ่
     6. จัดการสาธิต หรือการนำเสนอที่น่าดึงดูดใจ
     7. ชักจูงใจด้วยสิ่งที่เชื่ออยู่ก่อนแล้ว โดยบอกว่าสินค้ายี่ห้อนี้แท้กว่ายี่ห้อนั้น
     8. ใช้การตีหลุมตามที่เชื่อกัน อะไรแพงกว่าอันนั้นดีกว่า หรือใช้ศัพท์ที่ฟังดูเป็นวิทยาศาสตร์หรือเป็นธรรมชาติ
     9. ทำลายฝ่ายตรงข้ามไม่ให้มีความน่าเชื่อถือ
 
     ขอบคุณข้อมูลจาก:
     เครดิตภาพ:
http://www.nationmultimedia.com/admin/specials/sound/file/gt200jan29.jpg

vStudy Team. (เรียบเรียงโดย: สุวิชา ธงพานิช)
Website :: vStudyapp.com
Twitter :: @vStudyapp

Monday, September 2, 2013

V-Quiz : 7 เลขตัวถัดไป

 

     เลขลำดับถัดไปของแต่ละข้อคือ...?

vStudy Team.
Website :: vStudyapp.com
Twitter :: @vStudyapp

V-Quiz : 6 พ่อหนูอยู่ไหน

 
 
     พ่อหนูอยู่ที่ไหนคะ? อิอิอิ ^0^

vStudy Team.
Website :: vStudyapp.com
Twitter :: @vStudyapp

British and American English (Ep.5)


vStudy Team.
Website :: vStudyapp.com
Twitter :: @vStudyapp