จริงๆ แล้วเสียงที่เราได้ยินไม่ใช่เสียงคลื่นจากทะเล แต่เป็นคลื่นเสียงเฉพาะที่เราได้ยินจากหอยสังข์ต่างหากล่ะ
เสียงหรือคลื่นเสียง เกิดจากการสั่นของวัตถุซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดเสียง และเคลื่อนที่ผ่านอากาศซึ่งเป็นตัวกลาง อนุภาคของอากาศจะสั่นด้วยความถี่เดียวกับความถี่ของแหล่งกำเนิด เมื่อคลื่นเสียงคลื่นที่ผ่านไปในเปลือกหอย เสียงจะสะท้อนไปมาภายในเปลือกหอย ดังนั้นเมื่อแนบหูฟังเสียง เราจึงได้ยินคลื่นเสียงที่มีลักษณะเฉพาะอยู่ตลอดเวลา
เราอาจพบการสะท้อนของเสียงได้ในชีวิตประจำวัน เช่น เมื่อขึ้นไปบนยอดเขาและตะโกนไปยังภูเขาที่อยู่ฝั่งตรงข้าม หรือแม้แต่ขณะร้องเพลงในห้องน้ำ เราก็จะได้ยินเสียงสะท้อนอันไพเราะของเรา
ขอบคุณข้อมูลจาก: เก่งวิทย์พิชิตเกรด A เล่ม 2 ฟิสิกส์และเคมี
vStudy Team.
Website: vStudyapp.com
Facebook: www.facebook.com/vstudyapp
Twitter: @vStudyapp
ปรากฎการณ์แบบนี้ไม่ได้มีแค่ในหอยสังข์นะคะ ในคนก็มี!!! ซึ่งมันเป็นโครงสร้างสำคัญในการฟังเสียงของคนเราเลยค่ะ นั่นก็คือ Cochlea เป็นโครงสร้างในหูชั้นใน รูปร่างคล้ายเปลือกหอย ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการรับคลื่นเสียง ซึ่งด้วยเหตุที่มันคล้ายเปลือกหอยนี้แหละค่ะ ทำให้อดคิดไม่ได้ว่า มันเป็นที่มาของคำว่า "พูดเป็นต่อยหอย" รึปล่าว ^^" เพราะเวลาคลื่นเสียงเข้าไปกระทบกับเยื่อแก้วหู ก็จะทำให้สั่นสะเทือนไปถึงโครงสร้างในหูชั้นกลาง (ค้อน ทั่ง โกลน) และสั่นไปยัง Cochlea (หอยของเรา) ซึ่งเหมือนกับว่าหอยโดนต่อย มีคลิปมาให้ดูกันด้วยค่ะ ^0^
ReplyDeletehttp://www.youtube.com/watch?v=P5gyQf2gVvA
ขอบคุณข้อมูลเพิ่มเติมจาก: Suwicha Thongphanich
เพิ่งรู้
ReplyDelete