ทุกครั้งที่เรากินอาหาร เรามักจะมีคำพูดอยู่สองคำเสมอนั่นก็คือ “อร่อย” กับ “ไม่อร่อย” ซึ่งในบางครั้งคนกินอาหารแบบเดียวกัน ก็ไม่ได้มีความรู้สึกอร่อยหรือไม่อร่อยเหมือนกันทุกคน แบบนี้แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารอร่อยนั้น มันอร่อยเพราะรสมือแม่ครัว/พ่อครัว หรือเพราะความสามารถในการรับรสของเราแต่ละคน วันนี้ผมเลยอยากมานำเสนอถึงสิ่งที่ทำให้เราสามารถรับรู้รสต่างๆ ของอาหารได้ โดยมีอวัยวะที่สำคัญในการรับรสก็คือ “ลิ้น (tongue)”
ลิ้น เป็นอวัยวะในช่องปาก ทำหน้าที่ช่วยในการคลุกเคล้าอาหาร และมีหน้าที่สำคัญในการรับรสอีกด้วย โดยมีน้ำลายเป็นตัวช่วยละลายสารสื่อรสต่างๆ ซึ่งเป็นสารเคมี เพื่อให้สารเหล่านั้นตกไปในปุ่มรับรส (taste buds) ที่กระจายอยู่บนลิ้น เมื่อมีสารเคมีมากระตุ้น ตุ่มรับรสจะเกิดการเปลี่ยนแปลงความต่างศักย์ของเซลล์รับรส ทำให้เกิดกระแสประสาทส่งไปตามเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งรับรสจากบริเวณปลายลิ้นและด้านข้างของลิ้น (2/3 ส่วนของลิ้นด้านหน้า) และประสาทสมองคู่ที่ 9 รับรสจากบริเวณโคนลิ้น (1/3 ส่วนด้านโคนลิ้น) เพื่อส่งกระแสประสาทต่อไปยังก้านสมองทาลามัสและซีรีบรัมบริเวณพูด้านข้างขมับ (parietal cortex) ซึ่งเป็นบริเวณศูนย์รับรส เพื่อแปลผลว่าเป็นรสอะไร โดยในแต่ละตุ่มรับรสจะมีเซลล์รับรสประมาณ 4–20 เซลล์ ทำหน้าที่รับรสที่แตกต่างกันถึง 5 รส คือ เปรี้ยว หวาน เค็ม ขม และ อูมามิ ดังภาพ
vStudy Team. (เรียบเรียงโดย: สุวิชา ธงพานิช)
Website :: vStudyapp.com
Facebook :: http://www.facebook.com/vstudyapp
Twitter :: @vStudyapp
No comments:
Post a Comment