Friday, January 3, 2014

พลูโต: (อดีต)ดาวเคราะห์ดวงที่ 9

 2
     ดาวพลูโต (Pluto) เป็นดาวที่อยู่ไกลที่สุด และมีขนาดเล็กที่สุดในระบบสุริยะ แต่เดิมถูกจัดเป็นดาวเคราะห์ที่อยู่ไกลจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 9 ของระบบสุริยะ ซึ่งอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากถึง 5,900 ล้านกิโลเมตร แต่ในบางครั้งการโคจรรอบดวงอาทิตย์ของดาวพลูโตก็ทำให้เข้าใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าดาวเนปจูน เนื่องจากมีการโคจรเป็นวงรี และใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 รอบเป็นเวลา 248 ปี และหมุนรอบตัวเอง 1 รอบใช้เวลา 6 วัน อุณหภูมิพื้นผิว -223 องศาเซลเซียส มีดวงจันทร์ที่ชื่อ "คารอน (Charon)" เป็นดาวบริวาร
     แต่เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2549 สมาพันธ์ดาราศาสตร์สากล (International Astronomical Unions: IAU) ได้มีมติในที่ประชุม ณ กรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก ให้ถอดดาวพลูโตออกจากสถานภาพดาวเคราะห์ (หลังจากอยู่ในระบบมานานถึง 76 ปี) โดยให้จัดดาวพลูโตอยู่ในกลุ่ม “ดาวเคราะห์แคระ (Dwarf Planet)” เนื่องจากได้มีการตั้งข้อสรุปใหม่เกี่ยวกับคุณสมบัติของดาวเคราะห์ ไว้ว่า
     1. เป็นวัตถุบนท้องฟ้าที่โคจรรอบดาวฤกษ์ แต่ตัวเองต้องไม่เป็นดาวฤกษ์
     2. มีมวลมากพอที่จะเกิดแรงโน้มถ่วง ดึงดูดให้ตัวเองอยู่ในสภาวะสมดุลอุทกสถิต (hydrostatic equilibrium)
     3. มีวงโคจรที่ชัดเจนและสอดคล้องกับดวงดาวใกล้เคียง
     ด้วยเหตุนี้ทำให้ดาวพลูโต ไม่ใช่ดาวเคราะห์ดวงที่ 9 ในระบบสุริยะ อีกต่อไปเพราะมีวงโคจรที่ทับซ้อนกับดาวเนปจูน
1
vStudy Team. (เรียบเรียงโดย: สุวิชา ธงพานิช)
Website: vStudyapp.com
Facebook: http://www.facebook.com/vstudyapp
Twitter: @vStudyapp

No comments:

Post a Comment