สารต่างๆ ในธรรมชาติ โดยทั่วไปแล้วแบ่งออกได้เป็น 3 สถานะ คือ ของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ซึ่งสาร 1 ชนิดอาจมีได้ทั้ง 3 สถานะก็ได้ เช่น น้ำ น้ำแข็ง และไอน้ำ โดยทั้ง 3 สถานะของสารจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้
ของแข็ง (solid)
มีปริมาตรและรูปร่างที่แน่นอน ทำให้ไม่สามารถกดอัดให้มีปริมาตรลดลงได้ และจะคงทนสภาพเช่นเดิมอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากอนุภาคของสารจะอยู่ชิดแน่นกันมาก และจะมีแรงดึงดูดระหว่างกันมากด้วย เช่น ของใช่ต่างๆ โลหะ ปากกา ยางลบ แท่งไม้ แท่งเหล็ก ฯลฯ
ของเหลว (liquid)
มีปริมาตรที่แน่นอนแต่มีรูปร่างไม่แน่นนอน โดยจะไม่สามารถกดอัดให้ลดปริมาตรได้ แต่จะสามารถเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปตามภาชนะที่บรรจุได้ เนื่องจากมีอนุภาคของสารอยู่กันอย่างหลวมๆ และนอกจากนี้ยังมีสมบัติการไหล โดยจะไหลจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำ และสามารถระเหย (การเปลี่ยนสถานะจากของเหลวไปเป็นไอ) ได้
ก๊าซ (gas)
ปริมาตรและรูปร่างไม่แน่นอน แต่สามารถขยายตัวตามภาชนะที่บรรจุได้ โดยจะสามารถบีบอัดให้มีปริมาตรลดลง หรือ เพิ่มให้มีปริมาตรมากขึ้นก็ได้ เพราะอนุภาคของก๊าซจะอยู่ห่างกันมากๆ ทำให้สามารถเคลื่อนเข้าไปชิดกันได้มาก และเคลื่อนออกจากกันได้มากด้วย
vStudy Team. (เรียบเรียงโดย: สุวิชา ธงพานิช)
Website: vStudyapp.com
Facebook: http://www.facebook.com/vstudyapp
Twitter: @vStudyapp
Website: vStudyapp.com
Facebook: http://www.facebook.com/vstudyapp
Twitter: @vStudyapp
No comments:
Post a Comment