Thursday, December 12, 2013

การเคลื่อนไหวของพืช

 2
     การตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมของพืชนั้น มักจะเกิดจากการเจริญเติบโตและการเปลี่ยนแปลงแรงดันในเนื้อเยื่อพืช โดยการเคลื่อนไหวของพืชนั้นจะเกิดจากสิ่งเร้าทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งแบ่งออกเป็น
     1. การเคลื่อนไหวที่มีทิศทางสัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า (tropic movement) เช่น แสง แรงโน้มถ่วงของโลก สารเคมี น้ำหรือความชื้น และอุณหภูมิ เป็นต้น โดยพบว่าปลายยอดของพืชจะเคลื่อนที่เข้าหาแสง ในขณะที่ปลายรากจะเคลื่อนที่หนีจากแสง ทั้งนี้เนื่องจากการทำหน้าที่ของฮอร์โมนออกซิน (auxin) และลำต้นของพืชจะมีทิศทางการเติบโตที่ต้านแรงโน้มถ่วงของโลก ในขณะที่รากจะเคลื่อนที่ไปในทางเดียวกันกับแรงโน้มถ่วงของโลก ก็เนื่องมาจากการทำหน้าที่ของฮอร์โมนออกซินเช่นเดียวกัน
     2. การเคลื่อนไหวของพืชโดยมีทิศทางไม่สัมพันธ์กับทิศทางของสิ่งเร้า (nastic movement) เป็นการตอบสนองที่เกิดจากสิ่งเร้าเดียวกัน ปริมาณเท่ากัน แต่พืชตอบสนองได้ไม่เท่ากัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับบริเวณที่ได้รับสิ่งเร้าและชนิดของพืชด้วย เช่น การบาน-หุบ ของดอกไม้
     3. การเคลื่อนไหวที่เกิดจากความเต่งของเนื้อเยื่อ (turgor movement) เช่น การหุบและกางใบของไมยราบ การหุบใบตอนพลบค่ำของต้นก้ามปู จามจุรี มะขาม และพืชตระกูลถั่ว รวมถึงการเปิด-ปิด ของปากใบด้วย
1
     ขอบคุณภาพจาก: Campbell Biology, 9th ed.
vStudy Team. (เรียบเรียงโดย: สุวิชา ธงพานิช)
Website: vStudyapp.com
Facebook: http://www.facebook.com/vstudyapp
Twitter: @vStudyapp

No comments:

Post a Comment